Stem Cell 

Stem Cell Therapy

ความจริงเกี่ยวกับ สเต็มเซลล์บำบัด (Stem Cell)

เซลล์นับเป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยประมาณแล้ว คนเราจะมีเซลล์อยู่ถึง 100 ล้านล้าน เซลล์ ซึ่งทั้งหมดก็จะประกอบเป็นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเรานั่นเอง

เซลล์แต่ละเซลล์จะทำหน้าที่ต่างกัน เพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างเป็นระบบ เช่นการกรองของเสียของไต การเต้นของหัวใจ กาย่อยอาหารในกระเพาะ การคิดในสมอง หรือการทดแทนเซลล์ของผิวหลังจากที่แซลล์เก่าลอกออก

สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด คืออะไร

เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ คือเซลล์ชนิดพิเศษ ที่พบในร่างกายของคนเรา พบได้ทุกช่วงเวลาของการเจริญเติบโตในสิ่งมีชีวิต

สเต็มเซลล์ (เซลล์ต้นกำเนิด) มีศักยภาพ สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด และสามารถเปลี่ยนแปลง ไปเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิด ในร่างกาย เช่น เซลล์ผิวหนัง สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ และเซลล์เม็ดเลือด มีหน้าที่สำคัญในการทดแทน และซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพในร่างกาย

ทำไมสเต็มเซลล์ (Stem Cell) ถึงสำคัญ

โดยปกติแล้ว เมื่อร่างกายเติบโตจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ เซลล์ที่เคยแข็งแรงก็จะค่อยๆ อ่อนแอลง ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือแสดงอาการผิดปกติออกมาครับ ในทุกๆ วัน ร่างกายของคนเรา จะมีการตายของเซลล์ เกิดขึ้น เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุเพียง 120 วัน เซลล์ผิวหนังมีอายุ 28 วัน

ในเวลาที่เราบาดเจ็บหรือป่วย เซลล์ของเราก็บาดเจ็บหรือตายด้วย  เมื่อเหตุการณ์พวกนี้เกิดขื้น สเต็มเซลล์ก็จะเตรียมพร้อมทำหน้าที่ซ่อมแซมบาดแผล และสร้างแซลล์ใหม่ เพื่อมาทดแทนแซลล์เก่า ที่ตายไปตามเวลา เพราะฉะนั้นสเต็มเซลล์สำคัญกับร่างกายเรามากๆ เพราะมันทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราแก่ก่อนอายุ สเต็มแซลล์ก็เป็นเหมือนกองทัพแพทย์ตัวเล็กๆ ในร่างกายเราเลยครับ

รูปแสดงลักษณะของเซลล์แต่ละชนิดในร่างกาย

ในคนที่ยังอายุน้อย สเต็มเซลล์จะสามารถแบ่งตัวมาทดแทน เซลล์ที่ตายเหล่านี้ ได้ทันไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่อายุมากขึ้น ปริมาณสเต็มเซลล์ก็มีน้อยลง ทำให้การทดแทนเซลล์น้อยลง ร่างกายก็จะค่อยๆ เสื่อม ไปในทุกอวัยวะ หรือที่เรามักเรียกกันว่าโรคชรานั่นเอง

ทำไมคนถึงหันมาสนใจ สเต็มเซลล์ (Stem Cell)

มีการศึกษาถึงจำนวนของสเต็มเซลล์ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงเบาหวาน และโรคเรื้อรัง พบว่า จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีจำนวนน้อยกว่าคนปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสรุปได้ว่าสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยคงจะได้รับผลกระทบจากโรค เช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้าเราสามารถเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์ให้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจจะช่วยป้องกันโรค หรือทำให้โรคที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้

ด้วยเหตุผลข้างต้น แพทย์จึงให้ความสนใจเรื่องสเต็มเซลล์ โดยมีความหวังว่า อาจจะสามารถนำมาช่วยรักษาโรคต่างๆ ในมนุษย์ได้ ควบคู่กับการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว

สเต็มเซลล์ (Stem Cell) เกิดขึ้นเมื่อไร 

การใช้สเต็มเซลล์ เพื่อรักษาโรค มีมานานมากแล้วนะครับ เกินกว่า 90 ปีละครับ เริ่มแรกคือสกัดจากสัตว์

โดยนายแพทย์ พอล นีฮาน ซึ่งได้รับยกย่อยให้เป็นบิดาของการทำ live cell therapy เริ่มแรกโดยการเอาเซลล์จากตัวอ่อนของแกะ มาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพื่อช่วยรักษาฟื้นฟู โดยมีผลเป็นที่น่าพอใจ และวิธีดังกล่าวได้รับการจัดเป็นหนึ่งในการรักษา ของแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) ที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ​

การใช้สเต็มเซลล์ (Stem Cell) ถือเป็นสิ่งผิดจริยธรรม

ในระยะแรกๆ สเต็มเซลล์ที่นักวิทยาศาสตร์พบ จะเป็นสเต็มเซลล์ที่แยกมาจากไข่ ที่ได้รับการปฎิสนธิแล้ว (สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน) โดยเอามาเพาะให้เป็นเซลล์ต่างๆ ได้แทบทุกชนิด แต่จากการที่ไข่ได้รับการปฎิสนธิแล้ว ถือว่าชีวิตกำเนิดแล้ว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งทางศีลธรรมอย่างมาก (ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ถึงกับออกกฎหมาย ปฎิเสธทุนวิจัยทางด้าน embryonic stem cell กันเลยทีเดียว) แต่ในปัจจุบันก็มีผู้ที่สนับสนุน และเห็นว่าไข่ที่ได้รับการปฎิสนธิแล้ว เพียง 5 วัน ยังไม่ได้สร้างอวัยวะใดๆ ไม่ถือว่ามีชีวิต และปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ สามารถนำมาจากอวัยวะอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไข่ได้อีกมากมาย ทำให้เรื่องความรู้สึกผิดจริยธรรม ค่อยๆ เบาบางลง (และประธานาธิบดี โอบามา ก็ออกมาแก้กฎหมายดังกล่าว เรียบร้อยแล้วเมื่อไม่นานมานี้)

รูปแสดง embryo stem cell ที่ได้จากมนุษย์ โดยสเปริ์ม ผสมกับไข่ และเกิดเป็นตัวอ่อนหรือ embryo

แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า มีแหล่งของสเต็มเซลล์อื่นๆ ที่สามารถนำมาศึกษาวิจัยได้ โดยสเต็มเซลล์เหล่านี้เรียกว่า Adult Stem Cells หรือสเต็มเซลล์เต็มวัย เช่นสเต็มเซลล์จากเลือด, สายสะดือ, รก, ไขกระดูก เป็นต้น

รูปแสดง adult stem cell ที่ได้จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย

หลักการทำงานของสเต็มเซลล์ (Stem Cell)

หลังจากเซลล์ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย เซลล์จะเดินทางไปที่อวัยวะที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด เช่น เซลล์หัวใจจะวิ่งไปที่หัวใจ เซลล์ปอดจะไปที่ปอด เซลล์ตับก็จะกลับไปที่ตับ และเมื่อพบว่าเซลล์ของอวัยวะดังกล่าวเสื่อม สเต็มเซลล์ก็จะสร้างสารชีวภาพ หลากหลายชนิดขึ้นมา ซ่อมแซมเซลล์เก่า หรือเซลล์ที่เสื่อมเหล่านั้น

รูปแสดง การทำงานของ stem cell 

ความแตกต่างของสเต็มเซลล์ (Stem Cell) กับเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย

ความแตกต่างของสเต็มเซลล์และเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ต่างกันตรงที่ความสามารถ ในการแบ่งตัวของเซลล์

สเต็มเซลล์เป็นเซลล์

ที่แบ่งตัวได้ไม่จำกัด ในขณะที่เซลล์ต่างๆในร่างกาย ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เข้าใจง่ายๆ คือไม่สามารถรักษา หรือพัฒนาเซลล์ตัวเอง ให้กลับมามีสภาพเหมือนปกติ หรือซ่อมแซมตัวเองได้นั่นเอง

ตกลงว่า สเต็มเซลล์ (Stem Cell) มีกี่แบบกันแน่

1 Embryonic Stem Cell เป็นเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์

เซลล์พวกนี้คือ  “สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์” (Embryonic Stem Cell)  ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ตื่นเต้นกับสเต็มเซลล์ตัวอ่อน เพราะว่าหน้าที่ของสเต็มเซลล์ตัวอ่อน เป็นเหมือนเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถที่จะถูกพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นๆ ของร่างกายได้ สามารถสร้างทุกอวัยวะ รวมทั้งเนื้อเยื่อ ทำให้สเต็มเซลล์อ่อน มีคุณสมบัติที่สามารถรักษาโรคที่เซลล์เสื่อมได้แทบทุกชนิด สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนที่นักวิทยาศาสตร์เอามาใช้ ส่วนใหญ่ได้มาจากเซลล์ที่เหลือจากการทำกิ๊ฟ จากถุงน้ำคล่ำ ซึ่งปกติถ้าไม่ได้เอามาใช้เซลล์ที่เหลือเหล่านี้ก็จะถูกโยนทิ้งไปอยู่แล้ว

2 Adult Stem Cell เป็นเซลล์เนื้อเยื้อโตเต็มวัย 

กลุ่มนี้นำมาจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น ไขสันหลัง ฟัน ไขมัน เลือด ของเราเอง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแต่ละอวัยวะ จะมีสเต็มเซลล์ ที่เฉพาะเจาะจง สำหรับอวัยวะนั้นๆ ครับ เช่นเลือดของเรา ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากสเต็มเซลล์ ที่อยู่ในไขกระดูก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในวงการความงามกันอย่างกว้างขวาง เช่นการเสริมหน้าอก การฉีดกระตุ้นคอลลาเจน การฉีดเติมเต็ม

แล้วแบบไหนดีกว่ากัน

ถามว่าอะไรดีกว่ากัน น่าจะต้องมาดูว่าต้องการใช้ประโยชน์แบบไหนมากกว่า 

  1. เซลล์ตัวอ่อน สามารถพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ แทบทุกส่วน
  2. เซลล์โตเต็มวัย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยะต่างๆ ได้ เน้นการรักษาฟื้นฟูเซลล์ที่บาดเจ็บ เสียหายมากกว่า

แล้วปัจจุบันเรานิยมใช้สเต็มเซลล์ (Stem Cell) แบบไหน

แน่นอนว่าการนำ embryonic stem cell มาใช้ เหมือนเป็นการฆ่าตัวอ่อน จึงมีหลายๆ กลุ่มที่ต่อต้านว่าผิดจริยธรรม ปัจจุบันเราจึงหันมาให้ความสนใจกับ Adult Stem Cell ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เช่น เลือด ไขกระดูก เลือดจากสายรก (สายสะดือ) ไขมัน ฟันน้ำนม เรียกได้ว่า สามารถหาได้จากเกือบทุกอวัยวะในร่างกาย แต่แหล่งที่เอามา ก็จะมีข้อดี ข้อเสียในการนำมาใช้ แตกต่างกันไป

  • Stem Cell จากเลือด
  • Stem cell จากเลือดในสายรก
  • Stem cell จากไขกระดูก

แล้วสเต็มเซลล์ (Stem Cell) แบบไหนที่จะใช้ได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย

ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ทำให้มีการพัฒนาการสกัด Stem Cell ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันแหล่งของ Stem Cell ที่ได้รับการยอมรับว่านำมาใช้ได้ผลมากที่สุด ถูกสกัดมาจากไขกระดูก เพราะคือแหล่งผลิต สเต็มเซลล์อยู่แล้ว ทำให้เซลล์ที่ได้จากไขกระดูก เป็นเซลล์ใหม่ที่มีคุณภาพมากที่สุด และมีการใช้ stem cell จากไขกระดูกมากนานกว่า 10 ปีแล้ว

สำหรับ stem cell ที่ได้จากไขกระดูก  คือสเต็มแซลล์จากเนื้อเยื้อ ที่โตเต็มวัยแล้ว (Adult Stem Cell) จึงมีความปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าเป็นเซลล์ เฉพาะเจาะจง สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะ ในเนื้อเยื่อนั้นๆ เท่านั้น

แล้วเซลล์ต้นกำเนิด มีเซนไคม์ (Mesenchymal Stem Cell) คืออะไร 

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในไขกระดูก ยังมีสเต็มเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Mesenchymal stem cell (MSC) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกมาจากไขกระดูกซึ่งสามารถแบ่งตัวเองได้ มีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายเซลล์ Fibroblast (เซลล์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่สร้าง คอลลาเจนในชั้นผิวหนัง) ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในไตของ quinea-pigs จะกระตุ้นให้เกิดเนื้อเยื้อกระดูก และเซลล์ไขกระดูอยู่ภายในเนื้อไตได้ ซึ่งในภายหลัง เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น mesenchymal stromal cell หรือ mesenchymal stem cell (MSC) และนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า นอกจากไขกระดูกแล้ว เรายังสามารถเพาะเลี้ยง MSC ได้จากสายสะดือ จากรก จากฟันน้ำนม จากเซลล์ไขมัน จากผิวหนัง จากฟันน้ำนม และแม้แต่เลือดประจำเดือน เซลล์ MSC นี้ ถ้าได้รับการเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสม จะสามารถเจริญไปเป็น เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก และเซลล์กระดูกอ่อนได้  

เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์​ (Mesenchymal Stem Cell) มีความพิเศษยังไง

คุณสมบัติพิเศษประการหนึ่งของ MSC

คือความสามารถในการที่จะเดินทางไปยังแหล่งที่มีการอักเสบ  และสร้างสารชีวภาพที่ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื้อ, ช่วยต้านการอักเสบ และปรับสมดุล ภูมิต้านทานของร่างกาย

จึงได้มีการศึกษาถึงคุณสมบัติของ MSC ที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ในการรักษาและป้องกันโรค ในกลุ่มภูมิคุ้มกันไวเกิน (autoimmuene disease) เช่น การใช้ MSC เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ GvHD และลดการเกิด graft rejection ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก และยังใช้ในการรักษาโรคทางสมอง ที่เรียกว่า Multiple Sclerosis โรครูมาตอยด์, Crohn’s Disease, และใช้แทน anti-interleukin receptor ในคนที่ปลูกถ่ายไตได้อีกด้วย

เป็นที่ทราบดีว่าโรคส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง (Chronin Inflammation) ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือแม้แต่โรคมะเร็ง ก็เกิดจากการอักเสบเรื้อรังทั้งนั้น จึงมีนักวิทยาศาสตร์นำ MSC ไปใช้เพื่อลดการอักเสบในภาวะดังกล่าว เช่น ฉีดเข้าหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หรือสมองขาดเลือด ใช้ฉีดเข้าข้อเข่า ในผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม

เราต้องใช้ MSC​ (Mesenchymal Stem Cell) มากแค่ไหนในการรักษา

จำนวนเซลล์ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ด้วยค่ะ ว่าต้องการแค่ความสวยงาม Wellness + Anti Aging หรือต้องการรักษาโรค และความหนักเบาของอาการ โดยส่วนใหญ่ในการศึกษาเลือกใช้ MSC ฉีดเข้าเฉพาะที่ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าเส้นเลือด ในขนาด 1-2 ล้านเซลล์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นการฉีดเพื่อความสวยงาม Anti aging ก็สามารถใช้ปริมาณที่น้อยลงกว่านี้ได้ สิ่งที่สำคัญมากว่าปริมาณเซลล์ คือ คุณภาพของเซลล์

คุณภาพของ MSC​ (Mesenchymal Stem Cell) 

สิ่งสำหรับที่สุด ตือคุณภาพของ MSC นั่นคือ MSC ที่ใช้ควรจะเป็นเซลล์ที่มีชีวิต (viability >90%) ปราศจากการติดเชื้อ หรือสารเคมีปนเปื้อน ดังนั้นก่อนการรักษาควรมั่นใจว่า เซลล์ที่ใช้ในการรักษาได้มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และมั่นใจในคุณภาพได้ เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

จากการทดลองพบว่า MSC จะเข้าไปสร้างสารชีวภาพ (cytokines) หลายชนิดในร่างกายเรา ที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของโรค เช่นสารที่มีฤทธ์ลดการอักเสบ, ปรับสมดุลของภูมิต้านทานในร่างกาย, กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่มีอยู่ในร่างกาย รวมไปถึงฤทธ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเกิด ผังผืด (brosis)

ข้อกังวล เรื่อง MSC จะกลายเป็นมะเร็งนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่า MSC เองจะไม่สามารถแบ่งตัวไปเป็นเซลล์ใหม่ให้กับร่างกายของผู้รับได้ เพราะฉะนั้นสบายใจได้

แล้วเราต้อง match เซลล์ก่อนการรักษาด้วย MSC​ (Mesenchymal Stem Cell) ไหม

จุดเด่นของ MSC อีกอย่างก็คือเราสามารถให้ข้ามคนได้ (allogeneic) โดยไม่ต้องกังวลถึงการปฏิเสธเนื้อเยื้อในครั้งแรก

เนื่องจาก MSC เป็นเซลล์ที่ไม่มีการแสดงออก ของ HLA-DR และไม่มี T-cell co-stimulating receptor จึงไม่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื้อ ที่ได้รับการปลูกถ่ายครับ อย่างไรก็ตามถ้าเซลล์เหล่านี้อยู่ในสภาวะที่มี IFN-Y อยู่นานๆ ก็จะเหนี่ยวนำให้มีการแสดงออกของ HLA-DR ภายหลังได้ ทำให้การใช้ MSC ครั้งต่อๆ ไป ได้ผลน้อยลงจนถึงขั้นที่ไม่ได้ผลเลย

ซึ่งวิธีการป้องกันง่ายๆ คือ การใช้ MSC ที่มาจากผู้ให้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง ในปัจจุบันมี allogeneic MSC ที่ได้รับการยอมรับจาก FDA แล้ว ชื่อว่า Cartistem ซึ่งเป็น MSC ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงมาจากกระดูกอ่อน และถูกนำมาใช้ในการฉีดเข้าข้อเข่า เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม โดยทางการแพทย์ ให้การยอมรับ ว่าเป็นอีกทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วย ที่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจถึง 98% 

แล้วสามารถใช้เซลล์ MSC​ (Mesenchymal Stem Cell) ของเราเองได้ไหม

ในทางการแพทย์ เราสามารถใช้ autologous MSC (MSC ของตนเอง) ที่มาจากไขกระดูก หรือจากเซลล์ไขมัน (adiposeMSC)

แพทย์สามารถแยก MSC จากเซลล์ไขมัน และนำ adipose MSC มาใช้ในการฉีดเสริมเต้านม หรือฉีดผิวหน้าแทนสารเติมเต็ม (filler) ซึ่งก็ได้ผลดีระดับหนึ่ง

แต่เมื่อพูดเรื่องการรักษาโรคจะไม่แนนะนำวิธีนี้   เพราะ MSC ที่ได้ จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เป็นเซลล์ที่บริสุทธกว่า และไม่มีไขมันหรือสิ่งปนเปื้อน ซึ่งปลอดภัยกว่ามากๆ 

Stem Cell จะอยู่กับเรานานแค่ไหน

จริงๆ แล้ว stem cell ก็คือเซลล์ชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นเค้าก็มีอายุเหมือนกับเซลล์ปกติ เช่นเซลล์ผิวอายุ 28 วัน เซลล์เม็ดเลือดแดง 110 – 120 วัน

เพิ่มเติมคือ การทำงานของ stem cell จะไปช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ที่แข็งแรงเพื่อทดแทนเซลล์เก่า ที่เสื่อม หรือเกิดการอักเสบ หรือบกพร่อง และเมื่อเซลล์แข็งแรงมันก็สามารถแบ่งเซลล์ได้ต่อไปอีกนานขึ้น

ถ้าถามว่าเซลล์จะอยู่กับเรานานแค่ไหน ก็ต้องขึ้นกับการดูแลสุขภาพให้ดี เซลก็อยู่นาน แต่ถ้าไม่ดูแล สูบบุหรี่ เครียด ดื่มแอลกอฮอล์ มันก็จะหายไปเร็วกว่าปกติ ดังนั้น การรักษา หรือการฟื้นฟูร่างกาย ด้วย stem cell ควรทำทุกปี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นการฟื้นฟูความแข็งแรง ระดับเซลล์อย่างแท้จริง

แล้ว Stem Cell มีข้อเสียหรือข้อควรระวังอะไรบ้าง 

  • ที่ผ่านมามีการใช้สเต็มเซลล์ จะได้รับอนุญาติแค่ในการรักษาโรคเกี่ยวกับเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือด หรือธาลัสซีเมีย เท่านั้น เนื่องจากสเต็มเซลล์ยังเป็นเรื่องใหม่จึงยังไม่มีกฏหมายเฉพาะ ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยอย่างครบถ้วน
  • สเต็มเซลล์จากรกอาจไม่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดที่ (Muscular Dystrophy) หรือความบกพร่องของกระดูกสันหลัง (Spina Bifida)
  • เป็นการรักษาที่ค่อนข้างยุ่งยาก ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการรักษา
  • ผลการรักษาขึ้นกับแต่ละบุคคล และยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เพราะมันคือผลในอนาคต
  • ค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง
    เพราะเราต้องมีการคัดแยก และเพาะเลี้ยง และเก็บรักษา ต่างๆ พวกนี้ ต้องทำในห้องปฏิบัติการ ด้วยนักวิชาการเท่านั้น ทำให้มีราคาสูงมากในปัจจุบัน
  • เนื่องจากการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ หลายวิธียังค่อนข้างใหม่ ผลระยะยาวจึงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

Stem Cell ที่ผสมในครีม หรือเครื่องสำอางค์​ เห็นผลขนาดไหนคะ

งานวิจัยที่มีขณะนี้ ยังมีแค่การฉีดเท่านั้น stem cell จะมาอยู่รูปแบบเครื่องสำอางค์ไม่ได้ค่ะ เพราะมันคือเซลล์ ที่มีชีวิต แต่ถ้าอยู่ในครีม แสดงว่ามันตายแล้วนะ เพราะการใช้ในการรักษา คือต้องอยู่ในอุณหภูมิ -196 องศา (อยู่ในไนโตรเจนเหลว) แต่เข้าใจว่าที่เราเห็นอยู่ในท้องตลาด มันน่าจะเป็น Growth factor มากกว่า และเจ้าตัวนี้มันคือ โปรตีนที่ stem cell ปลดปล่อยออกมา 

จริงๆ แล้ว Growth factor ก็มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการทำงานของผิว ช่วยการซ่อมแซมผิว ลดการอักเสบ เพิ่มภูมิต้านทาน ซ่อมแซมข้อ เบาหวาน หรือสารพวกไซโตไคน์ (Cytokine) ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับผิว อีกตัวหนึ่ง แต่สารเหล่านี้จะสลายตัวในอุณภูมิห้องได้เร็วมากและสูญเสียสภาพเพียง 1-2 วัน ถึงแม้ว่าจะเก็บแช่แข็งก็ไม่เหมาะสมในการเก็บรักษาเพราะการละลายออกมาใช้งาน จะทำให้โปรตีนเสื่อมสภาพ ได้เช่นกัน 

แต่ถ้าเป็นพวกอาหารเสริมไม่มีอยู่เลย คือกินเข้าไป มันก็ย่อยหมด ไม่มีอะไรเลย ส่วนสารที่อ้างว่าสกัดมาจากสเต็มเซลล์จากพืช แท้ที่จริงแล้วเป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งอาจจะได้ผลในการใช้จริง เช่น มีส่วนประกอบของวิตามินซี หรือกรดผลไม้บางชนิด แต่นั่นก็ไม่ใช่สารจากสเต็มเซลล์ ซึ่งไม่ควรเรียกว่าสเต็มเซลล์ด้วยซ้ำ

เอกสารอ้างอิง

http://www.oryor.com/oryor_stemcell/main.html

http://stemcells.nih.gov/info/basics/Pages/Default.aspx

Home

Thomson JA, Itskovitz-Eldor J, Shapiro SS, Waknitz MA, Swiergiel JJ, Marshall VS, et al. Embryonic stem cell lines derived from human blastocysts. Science. 1998 Nov 6;282(5391):1145-7.

Giarratana MC, Kobari L, Lapillonne H, et al. (January 2005). “Ex vivo generation of fully mature human red blood cells from hematopoietic stem cells”. Nat. Biotechnol. 23 (1): 69–74.

Singec I, Jandial R, Crain A, Nikkhah G, Snyder EY (2007). “The leading edge of stem cell therapeutics”. Annu. Rev. Med. 58: 313–28.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Stem Cell